ufabet

ส่องสตาร์ทอัพ Canva กับมูลค่าธุรกิจ “4 แสนล้านบาท” ในระยะเวลาเพียง 9 ปี

ในช่วงเวลา 9 ปีที่ผ่านมา “Canva” สตาร์ทอัพสัญชาติออสเตรเลียก่อตั้งโดยคู่สามีภรรยา Melanie Perkins (CEO) กับ Cliff Obrecht

และ Cameron Adams ที่เริ่มต้นจากห้องนั่งเล่น ได้ถูกประเมินมูลค่าบริษัทล่าสุดไปที่ 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4 แสนล้านบาทCanva คืออะไร? Canva คือแพลทฟอร์มสำหรับออกแบบงานกราฟิก

และงานดีไซน์ต่างๆ ที่ทำให้ใครๆ ก็สามารถสร้างงานดีไซน์ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องมีพื้นฐานมาก่อน ซึ่ง Artwork ที่ทำบน Canva จะเอาไปใช้ในงานพิมพ์, โพสต์ Social Media, โปสเตอร์, วิดีโอ, เรซูเม่สมัครงาน, Infographic และโลโก้ จึงทำให้ Canva ได้รับความนิยมทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เพราะมีให้ใช้ทั้งแบบฟรี และแบบเสียเงิน

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาที่ COVID-19 เริ่มระบาด มูลค่าของ Canva ได้พุ่งขึ้นถึง 6 พันล้านเหรียญ สวนกระแสหลายๆ ธุรกิจที่กลายเป็นขาลง ซึ่งจากวันนั้นมาจนถึงวันนี้ มูลค่าของบริษัทได้กระโดดขึ้นไปถึง 1.5 หมื่นล้านเหรียญ (ประมาณ 4 แสนล้านบาท) คิดเป็นกว่า 2 เท่าของมูลค่าเดิม

ทำไมมูลค่าบริษัทของ Canva ถึงพุ่งขนาดนี้

ปกติแล้วการประเมินมูลค่าบริษัท หรือ Valuation ของสตาร์ทอัพจะเกิดขึ้นเมื่อมีการระดมทุน หรือ Fund Raising โดยเมื่อช่วงวันที่ 6/4/2021 ที่ผ่านมา Canva ได้ระดมทุนเพิ่ม และได้ประเมินมูลค่าบริษัทสำหรับการระดมทุนครั้งนี้อยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านเหรียญ

ที่มูลค่าของ Canva สูงขนาดนี้ประกอบไปด้วยหลายเหตุผล และหนึ่งในเหตุผลที่สำคัญคือ Canva ได้ทำกำไรมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่หลายๆ สตาร์ทอัพยังรันแบบขาดทุนกันอยู่ โดยปีล่าสุด Canva ทำรายได้

ไปทั้งหมด 500 ล้านเหรียญ ซึ่งโตขึ้นถึง 130% เทียบกับปีก่อนหน้าเรียนรู้จากการเติบโตของ CanvaCanva เริ่มต้นธุรกิจในปี 2013ในปี 2019 มีผู้ใช้แพลทฟอร์มนี้อยู่ 20 ล้านผู้ใช้ล่าสุดในปี 2021

ufabet

มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 55 ล้านผู้ใช้ (Active Users) โดยจากจำนวนนี้ มี 3 ล้านผู้ใช้ที่ใช้งานแบบจ่ายเงิน คิดเป็น 5% ของ Active Users

โมเดลการทำเงินของ Canva เป็นแบบ Freemium หมายถึง จะใช้แบบฟรีก็ได้ หรือถ้าจะเพิ่ม Features ก็สามารถจ่ายเงินได้ ด้วยโมเดลนี้ Canva เลยมีฐานผู้ใช้เติบโตอย่างรวดเร็ว

Canva เริ่มต้นจากการเป็นแพลทฟอร์มสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลาง ในการเข้ามาใช้งานดีไซน์ Artwork เล็กๆ น้อยๆ เช่น เมนู และโพสต์ Social Media ต่างๆซึ่งสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ

ไม่ว่าจะธุรกิจอะไรก็ตาม การโฟกัสกลุ่มเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญ อย่าง Canva เองที่โตเร็วเพราะการเริ่มต้นการเข้ามาช่วยธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลางแก้ปัญหาในการทำงานดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งโดยปกติ หากเราจะทำงานดีไซน์ก็อาจจะต้องใช้ Photoshop

ซึ่งจะยุ่งยากสำหรับคนที่ไม่คุ้น แต่ Canva ได้เข้ามาตอบโจทย์โดยการเป็นแพลทฟอร์มที่ใช้งานง่าย มี Template ให้เลือกกว่า 60,000 แบบในช่วงเดือนที่ผ่านมา Canva ได้ออก Feature ใหม่

โดยสามารถเปิดให้คนในทีมเข้ามาแก้ไขงานดีไซน์ได้แบบ Real Time บน Canva ทำให้บริษัทใหญ่ๆ เช่น American Airlines, Kimberly-Clark และ McKinsey เริ่มมีความสนใจในการใช้แพลทฟอร์มนี้มากขึ้น

กลยุทธ์นี้สะท้อนให้เห็นการวางแผนด้านการตลาดอย่างเป็นระบบ เช่น เริ่มต้นจาก ธุรกิจเล็กๆ ไปยังธุรกิจขนาดกลาง เมื่อเริ่มกินตลาดนี้ได้แล้ว จึงค่อยๆ ขยายไปยังลูกค้าที่เป็นบริษัทใหญ่ๆ แนวทางนี้เป็นสิ่งที่หลายธุรกิจสามารถทำไปปรับใช้กับกลยุทธ์การตลาดได้ ดีกว่าการทำการตลาดแบบหว่าน

บทเรียนจาก CEO สาวของ Canva

Melanie Perkins เป็นผู้ประกอบการหญิง (Womenpreneur) คนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งมี 3 แนวคิดน่าสนใจ ที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ไอเดียจะไม่มีค่าถ้าไม่เริ่มต้น: Perkins บอกว่าถ้ามัวแต่ฟังคนอื่น ที่คอยบอกว่าไอเดียนี้มันไม่เวิร์คหรอก เธอคงไม่ได้เริ่มทำ Canva และ คงจะไม่มี Canva เหมือนทุกวันนี้ เพราะความ Fail มันสามารถเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว สิ่งสำคัญคือต้องเรียนรู้อยู่เป็นประจำ ถ้าพลาด ก็ต้องเรียนรู้แล้วลุกขึ้นมาทำต่อ

แก้ปัญหาให้ตรงจุด: ไอเดียสตาร์ทอัพ ควรเริ่มมาจากปัญหาที่หลายคนเจอ ซึ่งหากธุรกิจสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุด ก็จะทำการดำเนินธุรกิจเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

เริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ก่อนจะไปกลุ่มกว้างๆ: Canva เริ่มต้นทดสอบไอเดียและ Product จากการให้เด็กนักเรียนเอาไปใช้ทำหนังสือรุ่น และเรียนรู้จาก Feedback ที่ได้ จากนั้นเมื่อมั่นใจแล้วว่า Product ตัวนี้สามารถตอบโจทย์ Pain Point และแก้ปัญหาของนักเรียนได้ จึงเริ่มพัฒนา Product เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาที่ใหญ่ขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ


ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ compagniedelongoeil.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated